ฝังเข็มด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน!

การฝังเข็มหรือการแทงเข็มรมยา เป็นศาสตร์การรักษาโรค ที่บรรพบุรุษชาวจีนคิดค้นพัฒนาขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วยของมนุษยชาติ แม้จะอยู่ในภูมิประเทศแตกต่างกันหรือคนละชาติพันธุ์ แต่การฝังเข็มยังคงให้ผลการรักษาเช่นเดียวกัน ในบางโรค การฝังเข็มให้ผลดียิ่งกว่าการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แผนตะวันตก มีความประหยัดและปลอดภัยกว่า หากเปรียบเทียบกับการผ่าตัดรักษาอาการปวดบริเวณต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก กระดูกสันหลังส่วนเอว พบว่า ภายหลังการผ่าตัด 5 - 10 ปี ผู้ป่วยจะกลับมามีอาการปวดซ้ำที่เดิม และปวดรุนแรง เมื่อสอบถามถึงการตัดสินใจจะกลับไปผ่าตัดอีกครั้ง ผู้ป่วยจะเลือกเป็นวิธีการสุดท้ายเท่านั้น และหันมาใช้บริการฝังเข็มซึ่งเป็นทางเลือกแทน

การฝังเข็มรมยา ช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคได้ ไม่ใช่เพียงแค่บรรเทาอาการเท่านั้น การหายหรือแค่บรรเทานี้ขอยกตัวอย่างกรณีเป็นหวัดแล้วมีอาการไอ ถ้าโดนพัดลมจะไอมากขึ้น กินยาระงับอาการไอก็ช่วยได้คือจะไอน้อยลง แต่เมื่อโดนพัดลมก็จะไออีก หากคนที่หายแล้วแม้จะโดนพัดลมก็ไม่มีอาการไอเลย นี่คือความหมายของคำว่าหาย ถ้าโรคไม่หนักฝังเข็มย่อมทำให้หายได้โดยง่าย ถ้าไม่ต้องการผ่าตัดและโรคหนัก การฝังเข็มทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ตัวอย่างที่พบมากในคลีนิกคือ อาการปวดเอวร้าวลงขา หรือ ชาวบ้านเรียกว่า กระดูกทับเส้น ในผู้ป่วย 100 ราย ที่จำเป็นจะต้องผ่าตัดจริง ๆ มีเพียง 5 รายเท่านั้น คือ จะต้องมีการปลิ้น หลุด เคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลัง ที่เหลือการฝังเข็มช่วยรักษาได้ แบ่งเป็น การรักษาให้หายขาดกับการรักษาประคับประคอง กรณีหมอนทรุด กระดูกคดไปคดมา ถ้าเป็นเล็กน้อยประมาณ 30 % และคนไข้อายุต่ำกว่า 60 ปี มีโอกาสหายขาดสูงกว่า 90 % ขอเพียงคนไข้มีเวลามารักษากับหมออย่างต่อเนื่อง และระมัดระวังกรกระแทกเท่านั้น ส่วนการรักษาแบบประคับประคอง ใช้ในกรณีคนไข้เป็นมาก กินยาไม่หาย บางครั้งปวดจนนอนไม่ได้ ฝังเข็มไปแล้วกินยาน้อยลง หลับได้ไม่ต้องทรมาณมาก

การฝังเข็มช่วยได้อย่างไร กลไกการทำงานของการฝังเข็มเป็นสิ่งที่คนไข้สอบถามมาบ่อย ผลการพิสูจน์จากประสบการณ์ของหมอ การจะอธิบายเกี่ยวกับการรักษาของชี่ในระบบเส้นลมปราณได้ น่าจะใช้ทฤษฎี LOCAL HORMONE มาอธิบายได้ส่วนหนึ่ง ทฤษฎีชี่ชักนำเลือดมาอธิบายได้อีกส่วนหนึ่ง และทฤษฎีสมองแปลสัญญาญผิดพลาดมาอธิบายได้อีกส่วนหนึ่ง ทฤษฎีแรกใช้อธิบายว่า การรักษาอาการไข้ ตัวร้อน เมื่อเลือกใช้จุดฝังเข็มเฉพาะ เหตุใดไข้จึงลดลง หรือการบำรุงร่างกาย ในคนที่มีร่างกายอ่อนแอ โดยจุดเฉพาะ เหตุใดร่างกายจึงแข็งแรงขึ้น ทฤษฎี LOCAL HORMONE เชื่อว่าเนื้อเยื่อบางตำแหน่งที่ไม่ใช่ต่อมไร้ท่อ สามารถผลิตฮอร์โมนได้เช่นกัน เมื่อมีการแทงเข็มไปในบริเวณนั้น เนื้อเยื่อก็จะผลิตฮอรฺโมนออกมาส่งผลให้ร่างกายขับความร้อนออกมา ลดอุณหภูมิในร่างกายลง รีเซ็ตระบบควบคุมความร้อนของร่างกายใหม่ หรือกรณีต้องการบำรุงร่างกายแข็งแรงขึ้น ก็ทำได้ เมื่อเข้าใจคำสั่งควบคุมโดยอาศัยจุดเฉพาะ ทิศทาง ท่ามือ และจังหวะการกระตุ้นเข็ม ส่วนทฤษฎีที่สองใช้อธิบาย กรณีอาการปวด มักเกิดจากการอุดตันหรือเลือดไม่มาเลี้ยง เมื่อแทงเข็มเข้าไปบนจุดตามเส้นลมปราณ จะชักนำให้ลมปราณหมุนเวียน เมื่อลมปราณเข้ามาเลี้ยงบริเวณที่ปวด จะชักนำเลือดที่ดีกว่าเข้ามา เกิดการซ่อมแซมเร็วกว่าปกติ ส่วนทฤษฎีที่สาม เชื่อว่า การแทงเข็มทำให้ร่างกายรู้สึกเจ็บมาก เหมือนมีแผลขนาดใหญ่ ทั้งที่ความจริงเจ็บน้อยกว่ามดกัด ทำให้สมองสั่งการให้ร่างกายช่วยกันผลิตสารซ่อมแซมออกมามากว่าปกติ แล้วส่งไปรักษาตรงบริเวณที่แทงเข็ม เนื่องจากมีสารซ่อมแซมมามากเกินกว่าบาดแผลที่มี เนื้อเยื่อบริเวณนั้นจึงได้รับสารซ่อมแซมไปด้วย ทำให้เนื้อเยื่อแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ ทฤษฎีเหล่านี้ช่วยอธิบายปรากฏการณ์ รักษาครั้งละหลายอย่าง ผลลดลง หายช้า รักษาครั้งละอย่าง หายเร็ว ซึ่งประเมินผลการรักษาในระยะ 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน

เนื่องจากการแทงเข็มรมยา เป็นการใช้เข็มเปล่าซึ่งไม่มียาอยู่ในเข็ม หมอฝังเข็มทุกท่านได้เรียนจบมาด้วยตำราเดียวกัน แต่การรักษาคนไข้ให้หาย อยู่ที่การใช้สติปัญญาวางแผนแก้ปัญหา ความละเอียดรอบคอบ ความแม่นยำในการแทงเข็ม เทคนิกท่ามือ ทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาที่ไม่มีสอนในตำราหรือหลักสูตรด้วยตนเอง ตลอดจนประสบการณ์ที่สืบทอดจากบรรพบุรุษหรืออาจารย์ ซึ่งโดยทั่วไป หมอฝังเข็มต้องติดตามอาจารย์เป็นเวลาหลายปี จึงจะได้รับการถ่ายทอดเคล็ดลับ ซึ่งส่วนใหญ่เห็นแต่ไม่เข้าใจ จนกว่าอาจารย์จะถ่ายทอดให้หรือปรับมือให้จนเข้าที่

การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง

องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้ทำการวิจัยและให้คำแนะนำว่าโรคหรืออาการเหล่านี้ี่เหมาะกับการฝังเข็ม แต่งานวิจัยนี้เปรียบเทียบกับวิธีการรักษามาตรฐานของการแพทย์แผนตะวันตก หมอเอามาให้อ่านเล่น ๆ


Conditions Appropriate for Acupuncture Therapy

ระบบทางเดินอาหาร
ปวดท้อง
ท้องผูก
ท้องเสีย
กรดในกระเพาะมาก
อาหารไม่ย่อย

อารมณ์และจิตใจ
วิตกกังวล
ซึมเศร้า
นอนไม่หลับ
จิตประสาท

ตา-หู-คอ-จมูก
ต้อหิน
ตามัว
หูอื้อ
ปวดฟัน
Gingivitis

โรคระบบสตรี
เป็นหมัน มีบุตรยาก
ความผิดปกติของประจำเดือน
วัยทอง

Miscellaneous
ควบคุมการหยุดยา
Athletic performance
ช่วยควบคุมความดันโลหิต
อ่อนเพลียเรื้อรัง
เสริมภูมิคุ้มกัน
คลายเครียด

กระดูกและข้อ
ข้ออักเสบ
ปวดหลัง
ตะคริว
ปวดกล้ามเนื้อ
ปวดต้นคอ
กระดูกทับเส้น
กล้ามเนื้ออ่อนแรง/ลีบ

อาการทางสมอง
ปวดศีรษะ
ไมเกรน
Neurogenic
กระเพาะปัสสาวะไม่บีบตัว
พาร์กินสัน
ปวดจากการผ่าตัด
อัมพฤกษ์ อัมพาต

ทางเดินหายใจ
หอบหืด
หลอดลมอักเสบ
หวัด
ไซนัส
ช่วยเลิกบุหรี่
ทอลซิลอักเสบ
ภูมิแพ้


ของจริงอยู่ที่นี่ครับ

โรคที่ผู้ป่วยนิยมมาฝังเข็มที่ คลีนิกหมอปังปอนด์ฝังเข็มพัทยา ซึ่งแสดงถึงชื่อเสียงและความชำนาญของเรา

อันดับ 1 กระดูกทับเส้น หรือปวดประสาทไซอาติก คนไข้จะมีอาการปวดหลังส่วนเอว ปวดร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อาจจะปวดขาท่อนบนหรือขาท่อนล่างมากเป็นพิเศษ และอาจมีอาการปวดข้อสะโพกหรือสลักเพชรร่วมด้วย บางรายเป็นตะคริวที่น่องได้ง่าย สถิติคนไข้มารักษาโรคนี้ประมาณ 50 % จำนวนครั้งการรักษาเฉลี่ย 8 ครั้ง กรณีโรคง่าย 3-5 ครั้ง กรณีโรคยาก 15 - 20 ครั้ง ผลการรักษาอยู่ได้ 1 - 10 ปี โดยไม่มีอาการเป็นซ้ำ บางรายเป็นมากจริง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ผ่าตัดซ้ำมาแล้ว จำเป็นต้องรักษาแบบประคับประคอง คือรักษาให้หายแล้วคอยมาแทงเข็มซ้ำเดือนละ 1 - 2 ครั้ง เหมือนคอยถ่ายน้ำมันเครื่องไว้ กรณีคนไข้ร่างกายอ่อนแอมีภาวะพร่องวิกฤติอาจต้องรักษาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมรักษาแบบฟื้นฟูสุขภาพ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2554 ทางคลีนิกหมอปังปอนด์ฝังเข็มพัทยาได้พัฒนาวิธีการรักษาข้อสะโพกอักเสบที่ได้ผลดีสำเร็จ

อันดับ 2 อาการคอ บ่า สบัก หรือ ออพฟิตซินโดรม คนไข้จะมีอาการปวดเริ่มที่คอ ต่อมาร้าวลงบ่าและปวดสบัก ปวดแบบรำคาญ ๆ บางครั้งปวดมากจนเป็นก้อน อาจชาตามปลายนิ้วมือร่วมด้วย สถิติคนไข้มารักษาโรคนี้ประมาณ 30 % จำนวนครั้งการรักษาเฉลี่ย 12 ครั้ง กรณีโรคง่าย 5 - 7 ครั้ง กรณีโรคยาก 15 - 20 ครั้ง ผลการรักษาอยู่ได้ 6 เดือนถึง 5 ปี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ความเสียหายของกระดูกคอ ความร่วมมือของคนไข้ในการปฏิบัติตัวหลังการรักษา และการออกกำลังกายที่เหมาะสม บางรายเป็นมาก จำเป็นต้องรักษาแบบประคับประคอง ก้อนบริเวณข้างสบักเกิดจากการบาดเจ็บดั้งเดิม เช่น ยกของหนักแล้วยอกเมื่อหายแล้วลืมไป หลายปีต่อมาจึงเกิดอาการร่วมกับปวดคอ อาการออพฟิตซินโดรมไม่ควรนวดกับหมอนวดที่ไม่ชำนาญเพราะจะสบายแค่ 2 - 3 วันแรก หลังจากนั้นจะเป็นมากขึ้น นวดอยู่เป็นปีไม่ยอมหายสักที เพราะทีแรกปัญหาแค่เล็ก ๆ เป็นรอยแผลในชั้นกล้ามเนื้อขนาด 2 - 3 มิลลิเมตร แต่หมอนวดนิ้วใหญ่ กดแล้วช้ำบาดแผลขยายตัวใหญ่กว่าเดิม ทำให้รักษายากขึ้น ในปี พ.ศ. 2555 ทางคลีนิกหมอปังปอนด์ฝังเข็มพัทยา ได้พัฒนาวิธีการหาเป้าหมายขนาดเล็กที่ซ่อนอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อรอบสบักได้สำเร็จ

อันดับ 3 ปวดศีรษะเรื้อรัง หรือ ไมเกรน คนไข้จะมีอาการปวดหัวข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง ปวดขมับ ข้างศีรษะ ปวดร้าวเข้าเบ้าตา หรือหน้าผาก หากปวดมากถ้าได้อาเจียรจะหายเร็วขึ้น มักมีอาการช่วงบ่าย หรือหลังจากได้รับการกระตุ้นจากแสงระยิบระยับ เสียงดัง กลิ่น ความเครียด อดนอน สถิติคนไข้มารักษาโรคนี้ประมาณ 15 % จำนวนครั้งการรักษาเฉลี่ย 6 ครั้ง กรณีโรคง่าย 2 - 3 ครั้ง กรณีโรคยาก 8 - 10 ครั้ง ผลการรักษาอยู่ได้ 1 ปี ถึง 10 ปี กรณีไมเกรนเทียม มีอาการปวดคอเป็นตัวกระตุ้น เกิดจากกระดูกคอทับเส้น จำนวนครั้งการรักษาเฉลี่ย 10 ครั้ง กรณีโรคง่าย 5 - 7 ครั้ง กรณีโรคยาก 12 - 17 ครั้ง ผลการรักษาอยู่ได้ 6 เดือนถึง 3 ปี บางรายเป็นมาก จำเป็นต้องรักษาแบบประคับประคอง

อันดับ 4 ปวดเข่า คนไข้จะปวดบริเวณสบ้าหัวเข่า ข้างเข่า พับในหลังเข่า บางรายขึ้นบันไดหรือลุกจากท่านั่งยองจะปวดลั่นในข้อเข่า สาเหตุเกิดจากเลือดไปเลี้ยงข้อเข่าไม่เพียงพอ สถิติคนไข้มารักษาโรคนี้ประมาณ 10 % จำนวนครั้งการรักษาเฉลี่ย 5 ครั้ง กรณีโรคง่าย 1 - 2 ครั้ง กรณีโรคยาก 10 - 15 ครั้ง ผลการรักษาอยู่ได้ 1 ปี ถึง 10 ปี กรณีหมอนรองเข่าสึกบางลงก็ยังรักษาได้ แต่ถ้ากระดูกผิดรูปมากจะรักษายาก พบว่า การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมช่วยไม่ให้ปวดได้แค่ 5 ปี หลังจากนั้นจะกลับมาปวดอีกและปวดรุนแรง กรณีปวดเข่าไม่ควรนวดอย่างรุนแรงบริเวณข้อพับหลังเข่า เพราะถ้าเส้นช้ำหรือฉีกขาด เส้นจะยึดทำให้ยืดออกไม่สุด ต้องเดินเขย่งหรือเดินงอเข่าตลอดชีวิต การฝังเข็มแค่ช่วยให้ยืดได้มากขึ้น แต่เวลานอนหงายจะยังคงยืดไม่สุดเหมือนคนปกติ กรณีเข่าบวมไม่ควรดูดน้าำในข้อออก เนื่องจากอาการบวมเกิดจากระบบผลิตน้ำหล่อลื่นข้อเข่าทำงานผิดปกติ ทำให้น้ำเสียอยู่ปะปนกับน้ำหล่อลื่นที่ดี หากใช้ไซริงค์ดูดออกจะหายไปทั้งน้ำดีและน้ำเสีย ภายหลังรักษาหาย ระบบผลิตน้ำหล่อลื่นจะกลับมาทำงานได้อีกครั้ง ร่างกายย่อมกำจัดน้ำเสียออกจากเข่าเอง แล้วน้ำหล่อลื่นที่ดีเหลือไม่เพียงพอ ต้องใช้เวลาสร้างอีกเป็นปีจึงจะได้เท่าเดิม กรณีเข่าลั่นเกิดจากกระดูกอ่อนอักเสบ บวม จนขบกัน อยากหายเร็วหลังรักษา คนไข้จะต้องพักการใช้งาน 1 - 2 วัน เพื่อให้กระดูกอ่อนหายอักเสบแล้วยุบตัวลง กรณีที่เชื่อว่าปวดเข่าแล้วต้องนั่งชักโครก ห้ามใช้โถส้วมแบบนั่งยอง แล้วจะแก้ปัญหาได้ เป็นความเชื่อที่พิสูจน์แล้วว่าผิด เพราะยิ่งไม่ใช้กล้ามเนื้อรอบเข่ายิ่งอ่อนแอ ที่ถูกต้องคือเพิ่มเลือดให้ไปเลี้ยงข้อเข่าให้มากขึ้น

(สถิติโดยรวมเกิน 100 % เนื่องจากคนไข้บางรายมีอาการหลายอย่าง)

อันดับต่อมาที่การฝังเข็มรักษาได้ผลดี ได้แก่

  1. ปวดไหล่ ถ้าเป็นน้อยจะปวดแบบรำคาญ ถ้าเป็นมากเวลายกแขนจะปวดรุนแรงทำให้ไม่อยากฝืนยกแขน ถ้าเป็นเรื้อรังจะกลายเป็นไหล่ติดถาวร คือองศาการยกแขนถูกล็อค ข้อแนะนำคือ ไม่ควรนวดกับหมอนวดที่ไม่ชำนาญเพราะจะสบายแค่ 2 - 3 วันแรก หลังจากนั้นจะเป็นมากขึ้น นวดอยู่เป็นปีไม่ยอมหายสักที เพราะทีแรกปัญหาแค่เล็ก ๆ เป็นรอยแผลในชั้นกล้ามเนื้อขนาด 2 - 3 มิลลิเมตร แต่หมอนวดนิ้วใหญ่ กดแล้วช้ำบาดแผลขยายตัวใหญ่กว่าเดิม ทำให้รักษายากขึ้น กรณีที่ปวดไหล่หลังอุบัติเหตุ ควรเอ็กเรย์ดูก่อนว่ากระดูกมีรอยร้าว หรือแตกหรือไม่ เพราะถ้ามีรอยร้าว ไม่ควรไปนวดกับหมอที่ไม่ชำนาญเรื่องกระดูก เพราะจะยิ่งปวดมากขึ้น และการฝังเข็มไม่สามารถช่วยให้หายขาดได้จนกว่ากระดูกจะหาย สถิติการรักษาด้วยการฝังเข็มเฉลี่ยในอาการนี้ 6 ครั้ง อาการง่าย 1 - 2 ครั้ง อาการยาก 8 - 10 ครั้ง เพราะคนไข้ส่วนใหญ่มาหาหลังจากเป็นมากแล้ว
  2. อาการปวดอื่น ๆ เช่น ปวดข้อมือ ปวดข้อเท้า เจ็บชายโครง ปวดศอก TENNIS ELBOW หรือ GOLF ELBOW ทางคลีนิกหมอปังปอนด์ฝังเข็มพัทยาได้พัฒนาวิธีการรักษาโรคเกี่ยวกับศอก ซึ่งไม่มีกล่าวถึงในตำราได้ผลสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2553
  3. อาการชา POLYNEURITIS มีอาการชาที่ขา หรือแขน คนไข้ควรผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันมาก่อนว่าใช่อาการชาจากโรคนี้หรือไม่ จะได้รักษาได้ผลเร็ว สถิติการรักษาด้วยการฝังเข็มสำหรับอาการนี้ 6 - 8 ครั้ง ภายหลังการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
  4. หอบหืดในเด็ก ใช้เวลารักษา 20 - 25 ครั้ง ตามความหนักเบา หลังจากหายเด็กจะแข็งแรง เข้าเรียนได้ตามปกติไม่ต้องหยุดเรียน ว่ายน้ำได้โดยไม่เป็นหวัด
  5. โรคกระเพาะ หรือ เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น มักปวดแสบท้องในเวลาที่หิว หรืออิ่ม มีอาการปวดท้อง ต้องเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ แต่ท้องไม่เสีย เกิดจากทานอาหารไม่ตรงเวลาและชอบดื่มน้ำอัดลม การแพทย์จีนพบว่าม้ามอ่อนแอ ตับแกร่ง การรักษาต้องบำรุงม้าม ใช้เวลารักษา 10 - 15 ครั้ง
  6. อ่อนเพลียเรื้อรัง เกิดจากชี่พร่อง ใช้เวลารักษา 5 - 10 ครั้ง
  7. ภาวะซึมเศร้า มีอาการเศร้าหดหู่ ขังตัวเองอยู่คนเดียวในห้อง ไม่มีแผนสำหรับวันรุ่งขึ้น รักษา 10 - 20 ครั้ง
  8. ลมชัก หรือ ลมบ้าหมู EPILEPSY ถ้าอาการเรื้อรังหลายปรักษา 10 - 15 ครั้ง ถ้าเพิ่งเป็นรักษา 15 -20 ครั้ง และต้องมารักษาอย่างน้อย 10 ครั้ง
  9. ไซนัสและภูมิแพ้ คันตา คัดจมูกเรื้อรัง ลมพิษ ทางคลีนิกได้พัฒนาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงและได้ผลดีกว่าเดิม ในปี พศ 2555
  10. นอนไม่หลับ ความเครียด รักษาได้ผลดีเฉพาะ คนไข้ที่ไม่มีภาวะวิตกกังวลร่วมด้วย รักษา 3 - 5 ครั้ง หากมีภาวะวิตกกังวล เช่น มีหนี้สิน หรือกำลังถูกฟ้องล้มละลาย ลูกหลานติดยาติดการพนัน สามีมีเมียน้อย เป็นต้น ได้แต่รักษาแบบประคับประคองจนกว่าปัญหาจะผ่านพ้นไป ไม่ให้เจ็บป่วยหนักต้องเข้าโรงพยาบาลเท่านั้น
  11. อัมพฤกษ์ อัมพาต กรณีออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผลการรักษาขึ้นอยู่กับความเสียหายของสมอง โดยจะจำกัดเพดานการหายอยู่เท่าที่เนื้อสมองเหลืออยู่ ถ้าเนื้อสมองเหลือมาก คนไข้จะกลับมาเหมือนคนปกติทุกอย่าง คนไข้มาฝังเข็ม มักต้องการรู้ว่าจะฟื้นตัวเร็วหรือช้า หมอจะตอบทันทีไม่ได้ เพราะขึ้นอยู่กับสมองบวมมากหรือน้อย ถ้าสมองยังบวมอยู่รักษาไปจะไม่เห็นความก้าวหน้า แต่ก็ยังเกิดประโยชน์กับคนไข้ ถ้าสมองบวมน้อย หรือไม่บวมจะหายเร็วมาก ทางที่ดีคือ การฝังเข็มตั้งแต่คนไข้ยังอยู่ในโรงพยาบาล ขณะที่เป็นใหม่ ๆ หมอให้นอนเฉย ๆ รอดูอาการ ควรจะได้รักษาไปเลย จะช่วยลดความเสียหายของสมองได้มาก เมื่อสมองเสียหายน้อย การบวมน้อยลง การฟื้นตัวก็ไว ค่าใช้จ่ายยิ่งต่ำ แต่ทางที่ดีที่สุดคือการป้องกัน โดยใช้การฝังเข็มรักษาเพื่อป้องกันเดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองดีขึ้น และป้องกันภาวะผนังหลอดเลือดสมองเปราะบางหรืออ่อนแอฉีกขาดง่าย ซึ่งในคลีนิกหมอมีคนไข้สูงอายุมารักษา คอร์สป้องกันอัมพาตอยู่หลายคน สำหรับคนไข้ที่ต้องการขอให้หมอออกไปรักษานอกสถานที่ หมอต้องขออภัยเพราะไม่สะดวก แนะนำให้มาที่คลีนิกดีกว่า
  12. การบาดเจ็บของไขสันหลัง ส่วนใหญ่มาจากอุบัติเหตุแล้วเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บไม่ถูกวิธี หรือผู้บาดเจ็บไม่รู้ตัวว่ากระดูกสันหลังหักพยายามย้ายตัวเองออกจากรถโดยไม่รอหน่วยกู้ภัย อีกสาเหตุมาจากถูกยิงกระสุนเข้าไปถูกไขสันหลัง ถ้าหากยังมีเนื้อเยื่อไขสันหลังเหลืออยู่สามารถฝังเข็มกระตุ้นให้กลับมาทำงานได้ แต่จะเดินได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเหลือเนื้อไขสันหลังมากน้อยเท่าใด แต่แนะนำว่าคนไข้ควรมารักษาให้ได้ 20 ครั้ง

การเตรียมตัวก่อนมารักษา

  1. ควรเข้ามาจองคิวการรักษาล่วงหน้า 1 - 2 วัน เพื่อไม่ให้รอนาน และมาก่อนเวลา 10 นาที หากมาตามนัดไม่ได้ ควรโทรยกเลิกนัดหมายก่อนเวลา 2 - 3 ชั่วโมง
  2. รับประทานอาหาร ประเภทคาร์โบไฮเดรต ข้าว ขนมปัง แซนวิช ก่อนรักษา 1 ชั่วโมง
  3. ควรเตรียมข้อมูลผลแลป X-RAY หรือ MRI ที่มีมาด้วย หากข้อมูลมีมาก กรุณาส่งให้หมอศึกษาก่อนวันมารักษา 2-3 วัน
  4. โรคที่เกี่ยวกับอาการปวด ควรวางแผนพักผ่อนภายหลังการรักษา
  5. ต้องการฝังเข็มอดบุหรี่ ขอให้งดสูบบุหรี่ก่อนเข้ามารักษา 6 ชั่วโมง เพื่อให้ได้รับผลการรักษาสูงสุด ขอแนะนำให้มาตอนเช้าหลังตื่นนอน และมารักษาซ้ำสัปดาห์ละครั้ง

แผนที่คลีนิกหมอปังปอนด์ฝังเข็มพัทยา

แผนที่ ฝังเข็ม พัทยา

โทร. 089-4139850 . 089-6600809 . 038-723290

หมอฝังเข็มหยุดทุกวันพฤหัสบดี

เพื่อความสะดวก โปรดเข้ามานัดล่วงหน้า

หากมาไม่ได้ กรุณาแจ้งก่อน 2 ชั่วโมง

เข็มสะอาดปราศจากเชื้อ ใช้ครั้งเดียว

ที่ตั้งคลีนิกหมอฝังเข็ม

124/98 หมู่ที่ 10 สี่แยกพัทยาใต้สาย 3 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150

จุดสังเกตในการเดินทาง

แผนที่คลีนิกหมอฝังเข็ม

กรณีมาจากมอเตอร์เวย์ ให้เลี้ยวซ้ายตามถนนสุขุมวิท ผ่านแยกพัทยากลาง ถึงแยกพัทยาใต้ ให้เลี้ยวขวาลงมา 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าซอย โรงแรมแอลเคพาวิเลี่ยน ก่อนถึงสี่แยกไฟแดงที่สอง 15 เมตร ไฟแดงนี้เรียกว่าสี่แยกพัทยาใต้สาย 3 หัวมุม 4 มุม คือโทนี่ฟิตเนตและโรงแรมลิโด้ มุมหนึ่ง ร้านขายมอเตอร์ไซต์ มิตรยนต์พัทยา สำนักงานใหญ่ อาคารสีฟ้าติดแอร์ ขนาด 5 ห้อง มุมหนึ่ง ร้านโฆษณามีป้ายขนาดใหญ่ให้เช่า มุมหนึ่ง และตลาดนัดติดแอร์ อีกมุมหนึ่ง ทางเข้าซอยอยู่ติดร้านมอเตอร์ไซต์ เข้าซอยมา 7 - 8 ห้อง คลีนิกอยู่ด้านขวามือ

กรณีมาจากวอคกิ้ง สตรีท ขับรถขึ้นมาตามถนนพัทยาใต้ จะผ่านตลาดวัดชัยมงคล ห้างตึกคอม ห้างเฟรนชิฟ ขับตรงผ่านสี่แยกไฟแดง ให้ชิดซ้าย เลี้ยวเข้าซอยแรก อยู่ในซอยลึก 40 เมตร

กรณีมาจากพัทยากลาง ขับรถเข้าสาย 3 มาทางพัทยาใต้ ถึงสี่แยกพัทยาใต้สาย 3 เลี้ยวซ้ายชิดซ้ายแล้วเข้าซอยแรก